บริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นแหล่งปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่มีคุณภาพ แต่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมยังมีปัญหาเรื่องของราคารังไหมและการเอาเปรียบจากพ่อค้า แก้วหลวงมีความสนใจในเรื่องนี้จึงเข้าไปส่งเสริมให้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและรับซื้อรังไหมในราคาที่เป็นธรรม จนมีการพัฒนาเป็นเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรีและนครปฐม
แก้วหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไหมโดยใช้ไหมพันธุ์ไทยสีเหลือง ซึ่งเป็นพันธุ์ไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของไหมไทยและผลิตเส้นไหมด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและเหมาะสมกับลักษณะของไหมไทย จนได้เส้นไหมที่มีคุณภา พสูง นำมาทอเป็นผ้าไหมด้วยกี่ทอผ้าแบบดั้งเดิม จนได้เป็นผ้าไหมผืนงามทรงคุณค่า
ผ้าไหมของแก้วหลวงได้รับการรับรองคุณภาพโดยได้รับตราสัญลักษณ์นกยูง จากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ซึ่งแสดงถึงคุณค่าของผ้าไหมไทย
ผงไหมเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งของแก้วหลวง โดยแก้วหลวงได้ผลิตผงไหมชนิดซีริซินจากไหมไทย ด้วยกรรมวิธีผลิตที่ปราศจากสารเคมีได้ผงไหมที่มีกรดอะมิโน 18 ชนิดและผลิตภายใต้สิทธิบัตรของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) AGRICULTURAL RESEARCH DEVELOPMENT AGENCY (PUBLIC ORGANIZATION)
แก้วหลวงยังคงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมต่อไปเพื่อเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและความก้าวหน้ามั่นคงของไหมไทย
หน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุน :
|
สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
The Queen Sirikit Institute of Sericulture
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
AGRICULTURAL RESEARCH DEVELOPMENT AGENCY (PUBLIC ORGANIZATION)
|